UFABETWIN

หญ้าที่เขียวชอุ่ม พื้นสนามที่เรียบเนียน กลายเป็นภาพจำที่คอบอลชาวญี่ปุ่นได้เห็นกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในลีกสูงสุดหรือลีกรอง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าสนามฟุตบอลในเจลีกนั้นเต็มไปด้วยคุณภาพ

อย่างไรก็ดีมันอาจจะตรงกันข้ามหากเป็นสนามกีฬาในโรงเรียนประถมหรือมัธยมที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยจากในมังงะอย่าง กัปตันสึบาสะ, Shoot หรือ ทัช ที่ส่วนใหญ่ยังเป็นสนามดินปนทรายที่เมื่อล้มลงไปเมื่อไรก็อาจจะได้แผลเมื่อนั้น

แน่นอนว่ามันขัดกับความเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขาดูตามหลังประเทศอื่น แม้กระทั่งประเทศไทยที่สนามกีฬาส่วนใหญ่เป็นสนามหญ้าแทบทั้งสิ้น

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ร่วมหาคำตอบไปพร้อม

วัฒนธรรมที่ฝังรากลึก

กลุ่มเด็กนักเรียนในชุดวอร์มที่กำลังวิ่งไปบนสนามสีน้ำตาลที่ไร้หญ้าปกคลุม น่าจะเป็นสิ่งที่แฟนการ์ตูนกีฬาญี่ปุ่นคุ้นเคยกันดี เมื่อฉากเหล่านี้มักปรากฏอยู่ในมังงะกีฬาแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นยุคเก่าอย่าง กัปตันสึบาสะ หรือยุคใหม่อย่าง อินาซูมะ อีเลฟเวน

สิ่งเหล่านี้ถอดแบบมาจากความเป็นจริง ไม่ใช่แค่สนามกีฬาในโรงเรียนเท่านั้นแต่ทั้งสนามเด็กเล่นหรือพื้นที่สาธารณะหลายแห่งก็ล้วนเป็นลานดินปนทราย ที่อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีสนามดินมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

 

เพราะอะไร ?

เหตุผลเริ่มแรกอาจจะต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของสนามกีฬาญี่ปุ่น เมื่อต้นกำเนิดลานกีฬาสมัยใหม่แห่งแรกในประวัติศาสตร์ของพวกเขาคือสนามดิน

มันคือสนามที่ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนวิทยาลัยครูโตเกียว ที่สร้างเสร็จในปี 1886 และเป็นสนามที่ทีมฟุตบอลของโรงเรียนเอาชนะทีม โยโกฮามา คริกเกต คัพ ซึ่งเป็นทีมต่างชาติได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1908

อันที่จริงในตอนนั้นวัฒนธรรมการใช้สนามหญ้าของตะวันตกได้เริ่มแพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นแล้ว แต่เนื่องจากมันเป็นเทคโนโลยีที่ราคาแพงเกินไป แถมยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศของญี่ปุ่นได้ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

บวกกับหญ้าญี่ปุ่นที่แม้จะมีการใช้ในการแข่งขันกีฬาโบราณมาก่อนหน้านี้ แต่มันก็ไม่ทนทานเทียบเท่ากับหญ้าของตะวันตก โดยเฉพาะในกีฬาที่ต้องเหยียบย่ำหญ้าเกือบทั้งเกมอย่างเบสบอลและฟุตบอล

 

แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการก่อสร้างสนามดินอย่าง โคชิเอ็ง สเตเดียม สนามดินที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก โปโล กราวด์ (สนามเหย้าของ นิวยอร์ก แยงกีส์ ในเวลาต่อมา) ที่ใช้สำหรับการแข่งขันเบสบอลมัธยมชิงแชมป์แห่งชาติในปี 1924 และ เมจิ จิงงุ สเตเดียม สนามกีฬาอเนกประสงค์ในปีต่อมา ที่ทำให้วัฒนธรรมการใช้สนามดินแพร่หลายไปทั่วประเทศ

 

UFABETWIN

 

 

หลังจากนั้นสนามดินก็กลายเป็นสนามพื้นฐานในโรงเรียนของญี่ปุ่น รวมถึงพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายของคนในชุมชน และการแข่งขันกีฬากลางแจ้งในหลากหลายประเภท

แต่คำถามคือ ในขณะที่โลกพัฒนาไปข้างหน้า แต่ทำไมญี่ปุ่นยังคงใช้สนามดินมาจนถึงปัจจุบัน ?

ประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า

ญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก (อันดับ 24) เนื่องจากภูมิประเทศของพวกเขาส่วนใหญ่ถึง 3 ใน 4 เป็นภูเขาและเนินเขา ทำให้ชาวอาทิตย์อุทัยมีพื้นที่ใช้สอยที่ค่อนข้างจำกัด

 

จากรายงานเมื่อปี 2002 ระบุว่าญี่ปุ่นมีพื้นที่สำหรับพักอาศัยอยู่แค่เพียง 4.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สวนทางกับประชากรของพวกเขาที่มีมากถึง 125 ล้านคน และมันก็ทำให้ที่ดินในญี่ปุ่นมีราคาที่สูงมาก

ดังนั้นการจัดสรรพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุดจึงเป็นแนวคิดจำเป็นสำหรับพวกเขา แน่นอนว่าในโรงเรียนก็ไม่มีข้อยกเว้น และเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้หลายโรงเรียนยังคงสนามดินเอาไว้ในปัจจุบัน

เนื่องจากหากเทียบกับสนามหญ้า สนามดินนั้นมีความเอนกประสงค์และมีความยืนหยุ่นกว่า แถมยังสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายในแทบทุกชนิดกีฬากลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นเบสบอล ฟุตบอล หรือวิ่งระยะสั้น เพราะแค่ตีเส้นลงไปก็สามารถใช้งานได้ทันที

“ผมคิดว่าปัจจัยสำคัญที่สุดคือญี่ปุ่นไม่ได้มีที่ดินมากพอ ดังนั้นสำหรับโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่การสร้างลานหรือสวนรอบสนามจึงแทบเป็นไปไม่ได้” โนริอากิ อาโอกิ นักปฐพีวิทยาจากสถาบันวิจัย นิชินิฮง กรีน

นอกจากนี้อีกเหตุผลคือสนามดินดูแลรักษาง่ายกว่า เพราะแค่เพียงเอาคราดเกลี่ยสนามหลังใช้เสร็จเท่านั้นต่างจากสนามหญ้าที่ต้องดูแลหญ้าเป็นอย่างดี ทั้งการรดน้ำและต้องตัดหญ้าอยู่เสมอ แถมยังเสี่ยงกับการเจอกับปัญหาหญ้าตายในช่วงฤดูหนาว

“อันดับหนึ่งยังคงเป็นเรื่องประเพณี อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบกับสนามหญ้าจริง สนามดินสามารถดูแลรักษาได้ไม่ยาก” เคนจิ คานาซาวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสนามจากบริษัท อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมโคชิเอ็งยังเป็นสนามดิน

“ก่อนหน้านี้ผมเคยดูแลสนามในโกเบ และพบว่าหญ้าจริงมันดูแลลำบากมากเลย แต่ขอบเขตในการเตรียมความพร้อมก็ไม่ได้ต่างจากสนามโคชิเอ็งมากนัก”

แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือเรื่องงบประมาณ เนื่องจากสนามดินมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ถูกกว่ามาก ต่างจากสนามหญ้าที่มีค่าใช้จ่ายยิบย่อย ตั้งแต่การติดตั้งไปจนถึงการจัดการหลังใช้แข่ง แถมหากหญ้าเสียหายก็ต้องใช้เวลาปลูกขึ้นมาใหม่ และจะใช้พื้นที่ตรงนั้นไม่ได้ไปอีกพักใหญ่

 

“มันมีรายงานว่าเคยจะมีการปูหญ้าให้เหมือนกับสนามในอเมริกาตอนรีโนเวต แต่การแข่งขันเบสบอลในระดับมัธยมปลายมีจำนวนมาก เมื่อพิจารณาถึงการที่หญ้าจะเสียหายหรืออะไรหลายอย่าง จึงรักษาธรรมเนียมและปล่อยให้เป็นอย่างนั้นต่อไปมาจนถึงทุกวันนี้” คานาซาวะ กล่าวต่อ

“ท้ายที่สุดสนามหญ้าก็จะเสียหายเมื่อมีคอนเสิร์ต แต่มันก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าไม่มีฝนมันก็โอเค แต่ถ้าฝนตกหนักเมื่อไร สนามก็จะเละและหญ้าก็จะตาย ส่วนที่เหลือก็จะดูแลยาก”

อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่เหตุผลเดียวของการมีอยู่ของสนามดิน

ปลูกจิตสำนึกเคารพผู้อื่น

พลศึกษา กลายเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับการศึกษาญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ด้วยนโยบายที่เรียกว่า จิ-โตคุ-ไท นั่นคือการมีความรู้ที่ดี (จิ) เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม (โตคุ) และร่างกายที่แข็งแรง (ไท) หรือการเน้นจริยธรรมและสุขภาพไปพร้อมกับความรู้

ทำให้ในแต่ละสัปดาห์เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะมีชั่วโมงพละศึกษามากถึง 3 ครั้ง ซึ่งยังไม่รวมกับกิจกรรมชมรมในสายกีฬาที่มีกีฬาให้เลือกเล่นมากมายทั้ง เบสบอล ฟุตบอล หรือเทนนิส

 

อย่างไรก็ดีนอกจากการเล่นกีฬาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่การศึกษาญี่ปุ่นเน้นย้ำคือการให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงนักกีฬากับธรรมชาติได้ดีที่สุดก็คือ “สนามดิน”

แม้ว่าหญ้าจะมีสีเขียว แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นพวกเขาเชื่อว่าดินคือสื่อกลางที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ ที่มีความเป็นธรรมชาติมากกว่า ดังจะเห็นได้จากพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นที่มักจะจะปล่อยให้ลูกตัวน้อยเล่นดินได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเลอะแค่ไหนก็ตาม

“สนามดินจะมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการเป็นสถานที่ที่เด็ก ๆ เล่นอยู่ทุกวัน” ครูชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งกล่าว

“เด็กสามารถใกล้ชิดกับธรรมชาติผ่านการสัมผัสดินและทราย”

ขณะเดียวกันสนามดินของชาวญี่ปุ่นไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์ใช้สอยเพียงอย่างเดียว แต่มันยังเป็นสถานที่ไว้สอนหรือปลูกฝังให้เหล่านักกีฬาเคารพผู้อื่นผ่านกระบวนการ “เตรียมสนาม”

กล่าวคือหลังจากใช้สนามเสร็จทุกครั้ง นักกีฬาทุกคนจะต้องเอาไม้รูปตัวทีที่เรียกกันว่า “แมลงปอ” มาคราดดินในสนามไปพร้อมกัน เพื่อปรับพื้นสนามให้สะอาดและเรียบเนียนเหมือนตอนก่อนใช้งาน

มันเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากเบสบอล และฝังรากลึกอยู่ในจิตสำนึกของนักกีฬาระดับเยาวชนญี่ปุ่นทุกคน โดยมีแนวคิดว่าเพื่อให้คนที่ใช้ต่อมีสนามที่สะอาดและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด

“เมื่อเสียงนกหวีดจบการแข่งขันดังขึ้น ผู้เล่นของทั้งสองทีมจะวิ่งไปที่ห้องเก็บอุปกรณ์โดยไม่ทักทายกัน ก่อนจะหยิบ ‘แมลงปอ’ มาเริ่มเตรียมสนาม” โยชิยูกิ โอซูมิ กล่าวในบทความ

“ผมไม่รู้ว่าประเพณีการดูแลสนามเบสบอล (ที่ผมรู้สึกว่า) ที่เกือบจะเป็น ‘วัฒนธรรม’ นั้นเริ่มต้นมาเมื่อไรหรือสืบทอดมาอย่างไร แต่ผมคิดว่าการดูแลสนามของฟุตบอลก็มีรูปแบบที่พัฒนามาจากเบสบอล”

สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด (ใจ ทักษะ ร่างกาย) ในการเล่นกีฬาของคนญี่ปุ่น ที่  หรือ ใจ ไม่ได้หมายถึงพลังใจในการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง “หัวใจ” ในฐานะมนุษย์ ที่จะต้องคิดถึงความรู้สึกคนอื่นและรับผิดชอบต่อสังคม

 

“ในตอนที่กำลังเหนื่อย การต้องดึง ‘แมลงปอ’ ที่หนักเพื่อปรับดินในสนามที่กว้างใหญ่ แน่นอนว่ามันเป็นงานที่ยากมาก แต่ผมคิดว่าผู้เล่นหลายคนที่เห็นสนามที่พวกเขาพากันดึง ‘แมลงปอ’ ไปเพื่อทำความสะอาดทีละนิด จะรู้สึกภาคภูมิใจและยกย่องตัวเอง” โอซูมิ อธิบาย

“เพราะปกติแล้วเมื่อเราไปที่สนามที่ได้รับการดูแลอย่างดี เราจะรู้สึกขอบคุณคนที่ใช้ก่อนหน้า ดังนั้นการเตรียมสนามหลังใช้เสร็จจึงเป็นเหมือนการเอาใจใส่ผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้าอีกด้วย”

“ผมคิดว่ามันคือการแสดงออกที่ดีมากในการ ‘ให้ความเคารพ’ ที่ให้ความสำคัญต่อคนอื่น”

ด้วยเหตนี้จึงทำให้หลายโรงเรียนยังคงสนามดินของพวกเขาเอาไว้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอย่างรุดหน้ามากแค่ไหน

 

UFABETWIN

 

ทว่าก็มีบางโรงเรียนและบางพื้นที่ที่กำลังพยายามจะเปลี่ยนมัน

ปัญหาเรื้อรัง

แม้ว่าสนามดินจะเป็นธรรมเนียมและประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานในโรงเรียนญี่ปุ่น แต่มันก็ส่งผลเสียต่อนักกีฬาเช่นกัน เมื่อมีรายงานของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เมื่อปี 2002 ระบุว่าสนามดินส่งผลกระทบต่อร่างกายของเยาวชนในช่วงหลัง

โดยในรายงานระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสมรรถนะและความแข็งแกร่งทางร่างกายของเด็กชาวญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการที่ต้องเล่นกีฬาบนพื้นที่มีความแข็ง รวมถึงเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้ง่ายกว่า

 

นอกจากนี้ด้วยอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นทุกปี สนามดินยังเป็นต้นเหตุของปัญหามากมายโดยเฉพาะเรื่องฝุ่น ความเฉอะแฉะหลังฝนตก รวมไปถึงความร้อนบนพื้นสนาม ที่บางครั้งร้อนเกินไปจนไม่สามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมได้

“ฝุ่นมันแย่มาก และมีคำร้องเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงว่าอยากจะทำอะไรสักอย่างเหมือนกัน” ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยจิบะให้ความเห็นกับ

“ฤดูร้อนก็ร้อนขึ้นทุกปี และเราอยากให้พื้นเย็นกว่านี้ในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนเริ่มคลาส” ครูโรงเรียนประถมในจังหวัดไซตามะกล่าว

ด้วยเหตุนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทางกระทรวงจึงได้สนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนเปลี่ยนจากสนามดินมาเป็นสนามหญ้าจริง หรือหญ้าเทียม ที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนแล้ว (สนามหญ้าเย็นกว่าสนามดิน 10 องศาเซลเซียส) ยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการเล่นเท้าเปล่าในสนามหญ้าช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียดได้

โดยล่าสุดเมื่อปี 2015 รัฐบาลโตเกียว ได้เป็นโต้โผในการเปลี่ยนสนามดินในโรงเรียนให้เป็นสนามหญ้า ในโครงการ ที่ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 1.8 พันล้านเยน (ราว 470 ล้านบาท)

อย่างไรก็ดีโครงการนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนสนามดินให้เป็นสถานที่เล่นกีฬาเท่านั้น แต่ยังหวังจะให้มันเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงโรงเรียนและคนในท้องถิ่นเข้าด้วยกันในฐานะพื้นที่สาธารณะของชุมชน

 

“สนามหญ้าของโรงเรียนจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เช่นการตัดหญ้าหรือรดน้ำ ครูและนักเรียนไม่ใช่คนเดียวที่จะจัดการมัน แต่ยังรวมไปถึงผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น แต่ละโรงเรียนจึงจะมีสนามอย่างอย่างเป็นระบบ และจะสามารถดูแลสนามหญ้าให้เรียบร้อย” รายงานของฝ่ายการศึกษามหานครโตเกียวระบุ

“มีอยู่ช่วงหนึ่งที่โรงเรียนกลายเป็นสถานที่ปิด จำกัดการเข้าถึงอย่างเข้มงวดสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้หลังได้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัย มีการจัดเทศกาลฤดูร้อนและฉายภาพยนตร์ จากมุมมองว่าโรงเรียนคือพื้นที่ของคนในท้องถิ่น จึงทำให้มันเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ”

“นอกจากนี้การสร้างสนามหญ้าในโรงเรียนยังเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงคนในท้องถิ่นและโรงเรียนเข้าด้วยกันอีกด้วย”

ทำให้แม้ว่ายังมีการพบเห็นสนามดินอยู่บ้างตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางเหนือที่อากาศค่อนข้างหนาว แต่จำนวนของสนาม หญ้าจริง หรือ หญ้าเทียม ก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการผลักดันของกระทรวงศึกษาฯ ญี่ปุ่น

และ “สนามดิน” ที่เป็นเอกลักษณ์ของวงการกีฬานักเรียนญี่ปุ่นก็อาจจะหายไปในอีกไม่ช้า

UFABETWIN

Related Post