UFABETWIN

ชีวิตของนักกีฬาระดับโลกมักเป็นเรื่องราวของการฝ่าฟันขึ้นมาสู่ความสำเร็จและโบยบินอยู่เหนือลมใต้ปีก บนแสงไฟของการแข่งขันที่สาดส่องมาจากรอบทิศ จนกลายเป็นจุดจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของ มาริเก เวอร์วูด นักกีฬาพาราลิมปิกชาวเบลเยียม ไม่ได้เป็นเช่นนั้น..

อันที่จริง เธอไม่ได้คิดจะมาเป็นนักกีฬาเลยด้วยซ้ำ เจ้าตัวอยากเป็นครูมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งโรคร้ายได้พัดพาฝันนั้นออกไป พร้อมกับชีวิตเบื้องหน้าที่จากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ

แต่ทำไมการเลือกวันตายถึงกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของเธอได้? เราจะพาไปรู้จักกับชีวิตเจ้าของเหรียญทองพาราลิมปิก 2012 ผู้ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงในวันที่ร่างกายไม่พร้อมไปต่อแล้วได้

เสียสูญ

“ฉันเฝ้ารอวันที่จะได้หยุดพักจิตใจ วันที่ไร้ซึ่งความเจ็บปวดใดๆอีกต่อไป และทุกสิ่งที่ฉันเกลียดจะจบลง”

มาริเก เวอร์วูด เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 ในประเทศเบลเยียม เธอเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่อุดมไปด้วยความรัก พร้อมความฝันของการเป็นครูที่รออยู่เบื้องหน้า ก่อนที่จุดพลิกผันในชีวิตของเธอจะเริ่มต้นขึ้นจากอาการรู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มแทงที่ปลายเท้า

เวลาล่วงเลยเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาการดังกล่าวไม่ได้หายไป หนำซ้ำยังทวีความรุนแรงจนกลายเป็นความเจ็บปวดที่ลามขึ้นไปทั่วขาของเธอ เวอร์วูด ถูกตรวจพบว่าเป็นโรค หรือ กลุ่มอาการเจ็บปวดอย่างซับซ้อนเฉพาะที่ ซึ่งไม่แน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไรและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

เวอร์วูด สูญเสียมวลของกระดูกสันหลังบางส่วน พร้อมกับไม่สามารถใช้ขาของตนในการรองรับน้ำหนักร่างกายได้ หนำซ้ำบางคราอาการบาดเจ็บของเธอก็ทำให้เกิดตะคริวกินไปทั่วร่างกาย จนกลายเป็นความทรมานและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่เวลานอนหลับของเจ้าตัว

 

UFABETWIN

การสูญเสียความสามารถที่จะดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับเธอมาก เวอร์วูด ต้องพึ่งพาเพื่อนและครอบครัว เพื่อมาดูแลและช่วยเหลือในการดำเนินชีวิต ขณะที่เจ้าตัวต้องคอยสลับเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาและแก้ไขปัญหาตามอาการที่เกิดขึ้น ณ ช่วงนั้น

“ฉันไม่อยากใช้ชีวิตแบบนี้เลย” เจ้าตัวเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์

และระหว่างช่วงเวลาแห่งพายุหมุนในชีวิตของเธอ จิตแพทย์ท่านหนึ่งได้แนะนำให้ลองปรึกษากับ ดร.วิม ดิสเทลมันส์
(ดร. วิม ดิสเทลแมนส์) แพทย์ผู้ดูแลด้านการุณยฆาตในเบลเยียม ประเทศที่อนุมัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องถูกกฎหมายสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือมีความเจ็บปวดมากเกินทนไหวมาตั้งแต่ปี 2002

ในปี 2008 หลังจากปรึกษาและตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับ ดร.ดิสเทลมันส์ เธอก็ได้รับใบอนุญาตให้สามารถทำการุณยฆาตจากแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม คุณหมอยังได้แสดงความกังวลถึงความพร้อมทางจิตใจของ เวอร์วูด ในการดำเนินตามขั้นตอนถัดไป ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าตัวเองก็ยอมรับด้วยเช่นกัน

“ฉันแค่ต้องการมีใบอนุญาตอยู่ในมือ ให้พร้อมใช้งานในเวลาที่มันหนักหน่วงเกินกว่าจะรับไหว เมื่อฉันต้องมีคนมาคอยดูแลทั้งวันทั้งคืน เมื่อฉันต้องเผชิญกับอาการบาดเจ็บมากเกินจะทน”

สู้ต่อไป

“ด้วยกระดาษแผ่นนั้น (ใบอนุญาต) ฉันรู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตอีกครั้งนึง”

เมื่อเธอสามารถกุมชะตาตัวเองได้อีกครั้ง และไม่ต้องคอยกังวลว่าความเจ็บปวดจะทำให้ตัวเองทรมานจนทนไม่ไหวอีกต่อไป ทำให้ เวอร์วูด สามารถมาโฟกัสกับการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่

เวอร์วูด หลงใหลในกีฬามาตั้งแต่เด็กแล้ว แม้สภาพร่างกายอาจไม่เอื้ออำนวย แต่เธอเองก็เคยลงเล่นทั้ง วีลแชร์บาสเกตบอล, ว่ายน้ำ, ไตรกีฬา ก่อนจะค่อยๆปรับมาเป็นการแข่งวีลแชร์เรซซิ่ง เมื่อสภาพร่างกายของตนเองเริ่มแย่ลง

เธอร่วมแข่งขันพาราลิมปิก ปี 2012 ที่ลอนดอน เป็นครั้งแรก ในประเภท T52 ซึ่งถูกสงวนไว้สำหรับนักกีฬาที่สามารถใช้งานไหล่และกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายได้ แต่ไม่สามารถใช้ส่วนของลำตัวลงไปจนถึงเท้า โดยเจ้าตัวลงแข่งตั้งแต่รายการ 100 เมตร ไปจนถึงระยะ 5,000 เมตร และโชว์ฟอร์มได้ดีจนคว้าเหรียญทองรายการ 100 เมตรมาครอง รวมถึงเหรียญเงินในระยะ 200 เมตร ให้กับทัพนักกีฬาทีมชาติเบลเยียม

จากจุดนั้นเธอสานต่อจนได้ไปแข่งขันรายการชิงแชมป์โลก ปี 2015 ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ โดยรอบนี้ เวอร์วูด กวาดเหรียญทองทั้งประเภท 100, 200, และ 400 เมตรมาครองได้สำเร็จ พร้อมกับได้ร่วมเข้าแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่ริโอ ในปี 2016 ด้วยเช่นกัน

ระหว่างกำลังเตรียมตัว เวอร์วูด เปิดเผยว่าพาราลิมปิกครั้งนี้ จะเป็น “คำขอสุดท้าย” ของเธอแล้ว หรือเป็นนัยว่านี่คือการแข่งขันครั้งสุดท้ายของเธอ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเจ้าตัวจะการุณยฆาตในทันทีที่จบการแข่งขัน

เธอได้ใช้ความเจ็บมาเป็นดั่งเชื้อเพลิงขับเคลื่อนผลงานในสนาม และผลักดันจนคว้าเหรียญเงินจากรายการ 400 เมตร กับเหรียญทองแดง 100 เมตรมาครองได้สำเร็จ แน่นอนว่าด้วยผลงานที่ดีกับเรื่องราวที่ดึงดูดความสนใจจากสื่อและสาธารณชนได้ จึงไม่แปลกที่ชื่อและเส้นทางชีวิตของ เวอร์วูด จะถูกพูดถึงกันเป็นวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ

อาจดูเหมือนว่าเรื่องราวของเธอนั้นดำเนินไปได้ด้วยดี แต่มีความจริงอย่างหนึ่งที่คุณต้องไม่ลืม นั่นคืออาการบาดเจ็บของแชมป์พาราลิมปิกรายนี้มีแต่จะแย่ลงในทุกๆวัน

ความจริง ความเจ็บ

ความเจ็บและทุกข์ทรมานของ เวอร์วูด ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชื่อเสียงของเธอโด่งดังขึ้นทุกวัน

ร่างกายของอดีตแชมป์พาราลิมปิกทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด เธอต้องผ่าตัดใส่ปั๊มขนาดเล็กไว้ในหน้าท้อง เพื่อใช้ฉีดมอร์ฟีนและยาหลากหลายชนิดเข้าสู่กระแสเลือดในทุกวัน เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดให้กับร่างกายของเธอ

โยส คุณพ่อของเธอกล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในปี 2017 ว่า “นี่คือช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับเธอ ปีที่แล้วเธอเล่นกีฬา แต่ตอนนี้เธอใช้เวลาส่วนมากอยู่ในบ้านและนอนหลับอยู่บนเบาะ”

 

UFABETWIN

ด้วยความที่โรค ของเธอนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และในทางการแพทย์ก็ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวอยู่อย่างจำกัด พร้อมกับการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความสามารถในการเคลื่อนไหวไปอย่างมาก จึงไม่แปลกที่ทำไมเจ้าตัวถึงได้ขอใบอนุญาตทำการุณยฆาตไว้ตั้งแต่ปี 2008 เผื่อการถูกนำมาใช้ในช่วงที่ “มีเวลาที่เลวร้ายมากกว่าวันที่ดี” ตามคำพูดของเธอ

หลังจบพาราลิมปิกที่ริโอ เวอร์วูด ใช้เวลาเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยขึ้น พร้อมกับหมดสติและมีอาการชักเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งต่างๆที่เธอเคยทำได้ในชีวิตประจำวันเริ่มกลายเป็นงานที่ยากขึ้น

“ฉันพยายามมีความสุขกับเรื่องเล็กๆ แต่มันก็แทบไม่เหลือให้ฉันได้มีความสุขแล้ว”

“จิตใจของฉันบอกว่าต้องสู้ต่อนะ แต่ร่างกายของฉันกำลังร้องไห้ออกมา”

แม้เธอจะใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยต่อสายตาสาธารณะ ถึงขั้นอนุญาตให้นักข่าวสามารถตามติดช่วงเวลาสุดท้ายของเธอเองได้ ทว่า เวอร์วูด ปิดข้อมูลวันที่เธอเลือกจะตายไว้เป็นอย่างดี โดยมีเพียงคนสนิทใกล้ชิดไม่กี่คนที่ทราบถึงวันดังกล่าวล่วงหน้า

“เธอไม่มีความแกร่งพอจะสู้ต่อไปไหวแล้ว” พ่อของเธอเปิดเผย หลังจากทราบว่าลูกสาวของเขาได้เลือกวันตายไว้แล้ว

“เราไม่ได้สนับสนุนมันนะ (การการุณยฆาต) แต่เราเข้าใจความรู้สึกของเธอดี”

และแล้วในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2019 เวอร์วูด เชิญพ่อแม่และเพื่อนสนิทของเธอเพียงไม่กี่คนมารวมตัวกัน เพื่ออำลาอดีตแชมป์พาราลิมปิกคนนี้เป็นครั้งสุดท้าย

ดร.ดิสเทลมันส์ มาเป็นหนึ่งในผู้ดูแลการการุณยฆาตด้วยตนเอง หลังจากครอบครัวของเธอได้แวะไปซื้อยามาให้เธอตามข้อกฎหมาย

คุณหมอท่านหนึ่งถามว่า “คุณมั่นใจที่จะดำเนินการต่อหรือไม่?”

“ใช่ ฉันต้องการดำเนินการต่อ”

20:15 น. ชีพจรของ เวอร์วูด ไม่เต้นอีกต่อไป และไม่มีความเจ็บปวดใดๆที่เธอจะต้องฝ่าฟันอีกแล้ว

ในคืนดังกล่าว เซนน์ สุนัขประจำตัวของเธอถูกพาไปซ่อนระหว่างขั้นตอนการุณยฆาต และได้กลับมานอนเฝ้าเจ้าของของมันอยู่ไม่ห่าง ซึ่งนี่คือครั้งสุดท้ายที่ทั้งคู่จะได้อยู่ร่วมกัน ก่อนที่เจ้า เซนน์ จะถูกส่งให้เพื่อนของนักวีลแชร์เรซซิ่งรายนี้ไปเลี้ยงดูต่อ

รุ่งเช้า คุณพ่อโยส ได้เข้ามาในห้องนอนของเธอพร้อมคำถามว่า “มาริเก เธอถึงไหนแล้ว?”

แน่นอนว่าในโลกแห่งความจริงนั่นเป็นคำถามซึ่งไร้คำตอบ แต่ในโลกของความทรงจำตัวของคุณพ่อเองคงได้รับคำตอบดังกล่าวมาแล้ว

UFABETWIN

Related Post